อิสลาม คือรูปแบบการดำเนินชีวิตทีถูกกำหนดโดยผู้ที่รู้รายละเอียดของมนุษย์มากที่สุดก็คือผู้สร้าง
อัลลอฮฺ คำว่า อัลลอฮฺ แปลว่า พระเจ้า
ซึ่งเป็นคำเรียกเฉพาะที่แยกออกจากคำในภาษาอาหรับอื่นๆที่มีความหมายว่า พระเจ้า
อิสลาม เป็นคำภาษาอาหรับ الإسلام แปลว่า การสวามิภักดิ์ ซึ่งหมายถึงการสวามิภักดิ์อย่างบริบูรณ์แด่
อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้า ด้วยการปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์ อิสลาม
มีรากศัพท์มาจากคำว่า อัส-สิลมฺ หมายถึง สันติ โดยนัยว่าการสวามิภักดิ์ต่อพระผู้เป็นเจ้าจะทำให้มนุษย์ได้พบกับสันติภาพ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ตั้งแต่แรกเริ่มของการกำเนิดของมนุษย์ คือ นบีอาดัม ผ่านศาสดามาหลายท่านในแต่ละยุคสมัย จนถึงศาสดาท่านสุดท้ายคือ มุหัมมัด และส่งผ่านมายังปัจจุบันและอนาคต จนถึงวันสิ้นโลก
มุสลิม เชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้
และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเจ้า
หลักจริยธรรม
ศาสนาอิสลาม
สอนว่า ในการดำเนินชีวิตจงเลือกสรรเฉพาะสิ่งที่ดี อันเป็นที่ยอมรับของสังคม
จงทำตนให้เป็นผู้ดำรงอยู่ในศีลธรรม พัฒนาตนเองไปสู่การมีบุคลิกภาพที่ดี
เป็นคนที่รู้จักหน้าที่ ห่วงใย มีเมตตา มีความรัก ซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น
รู้จักปกป้องสิทธิของตน ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
เป็นผู้มีความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว และหมั่นใฝ่หาความรู้
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรม ซึ่งความสมบูรณ์ทั้งหมดอยู่ที่ความยุติธรรม
หลักการปฏิบัติ
ศาสนาสอนว่า
กิจการงานต่าง ๆ ที่จะทำนั้น มีความเหมาะสมกับตนเองและสังคม ขณะเดียวกันต้องออกห่างจากการงานที่ไม่ดี
ที่สร้างความเสื่อมเสียอย่างสิ้นเชิง ส่วนการประกอบคุณงามความดีอื่น
ๆ การถือศีลอด การนมาซ และสิ่งที่คล้ายคลึงกับสิ่งเหล่านี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเป็นบ่าวที่จงรักภักดี
และปฏิบัติตามบัญชาของพระองค์ กฎเกณฑ์และคำสอนของศาสนา ทำหน้าที่คอยควบคุมความประพฤติของมนุษย์
ทั้งที่เป็นหลักศรัทธา หลักปฏิบัติและจริยธรรม
หลักศรัทธาอิสลาม
ตามแนวท่านศาสดาที่เชื่อถือได้ (ซุนนีย์)
3.
ศรัทธาในบรรดาศาสนทูตต่าง ๆ
ที่อัลลอฮฺได้ทรงส่งมายังหมู่มนุษย์ และนบีมุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
เป็นศาสนทูตคนสุดท้าย
5.
ศรัทธาในวันสิ้นสุดท้าย
คือหลังจากสิ้นโลกแล้ว มนุษย์จะฟื้นขึ้น
เพื่อรับการตอบสนองความดีความชั่วที่ได้ทำไปบนโลกนี้
6.
ศรัทธาในกฎสภาวะ หรือ
สิ่งที่เป็นการกำหนด และเงื่อนไขการกำหนดจากพระผู้เป็นเจ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น